ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยเช่นเดียวกับอีกหลาย ประเทศทั่วโลกหลายปีที่ผ่านมาพบว่าเด็กไทยมีแนวโน้มมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน เพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาวะน้าหนักเกินในเด็กจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในระยะยาว

 

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000011504

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9560000011504

 

http://www.pstip.com/วัยอนุบาล-3-6-ปี/ลูกน้อยเป็นเด็กอ้วน-ทำอย่างไรดี.html

http://www.pstip.com/วัยอนุบาล-3-6-ปี/ลูกน้อยเป็นเด็กอ้วน-ทำอย่างไรดี.html

ปัญหาโรคอ้วนในเด็กเป็นอาการที่จะรอช้าไม่ได้แล้ว ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล ข้อมูลล่าสุดจากสถิติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แสดงตัวเลขสัดส่วนของเด็กที่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเด็กอ้วน ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2558 ไว้ว่า ในเด็กก่อนวัยเรียน 5 คน จะมี 1 คนที่อ้วนและมีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน ส่วนในเด็กวัยเรียนก็มีตัวเลขที่น่าตกใจไม่แพ้กันก็คือ 1 ใน 10 ของเด็กจะมีภาวะน้ำหนักสูงกว่ามาตรฐาน ถ้ายังตกใจกันไม่พอยังมีอีกหนึ่งสถิติก็คือ จากผลสำรวจของเด็กอายุ 1-14 ปี พบว่ามีเด็กอ้วนจำนวน 540,000 คน และ มากกว่า 20 เปอร์เซ็นมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

 

ตัวเลขเหล่านี้ถือเป็นปัญหาที่กำลังสะสมให้ประเทศไทยของเรากลายเป็นประเทศที่มีเด็กอ้วนมากที่สุดในโลก และในขณะนี้ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของเด็กอ้วน (เด็กที่มีน้ำหนักสูงกว่ามาตรฐาน) เร็วที่สุดในโลก

 

โดยโรคอ้วนมีสาเหตุหลักมาจาก 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้

226

 

จากสาเหตุดังกล่าวจะพบว่า ส่วนมากแล้วเด็กไทยจะพบกับภาวะน้ำหนักเกิน ในส่วนของของกรรมพันธุ์ครอบครัวที่มีน้ำหนักเกิน และ การได้รับอาหารมากจนเกินไป

 

สาเหตุจากกรรมพันธุ์ : จากการสำรวจพบว่า หากพ่อหรือแม่ของเด็กมีภาวะน้ำหนักเกิน เด็กที่เกิดมาจากมีโอกาสที่จะเป็นเด็กอ้วนได้มากถึง 4-5 เท่าของเด็กทั่วไป แต่จะมีโอกาสเป็นได้มากถึง 13 เท่าหากพ่อและแม่มีภาวะน้ำหนักเกินทั้งคู่ ถือว่ากรรมพันธุ์มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียว และถ้าหากต้องการให้ลูกน้อยห่างไกลจากโรคอ้วน ทั้งพ่อและแม่ก็ควรจะควบคุมน้ำหนักไม่ให้ตัวเองมีภาวะเดียวกันนี้ ก่อนที่จะให้กำเนิดลูกน้อยออกมา

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000046066

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000046066

 

การได้รับอาหารมากเกินความจำเป็น : ในส่วนของการบริโภคอาหารนั้น หลายคนอาจจะเข้าใจผิดกันได้ว่า เด็กที่เกินในครอบครัวที่มีฐานะดีจะมีสัดส่วนที่เป็นโรคอ้วนมากกว่า เด็กที่เกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจน แต่เรื่องจริงแล้วกลับตรงกันข้าม เพราะเนื่องจากครอบครัวที่มีฐานะจะมีกำลังทรัพย์ในการเลือกให้ลูกของตัวเองได้รับ อาหารที่ดีกว่า ครอบหลักมากกว่า รวมไปถึงยังมีการส่งเสริมให้ทำกิจกรรมที่สามารถเผาพลาญพลังงานในวิธีที่ถูกต้อง ซึ่งแตกต่างกับอีกครอบครัวที่เลือกกินตามใจปาก

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000046066

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000046066

 

การป้องกันเด็กอ้วนรายใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้น

  1. ภาครัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพในเด็กและครอบครัว
  2. การสื่อสารความรู้กับ “ภัยเงียบ เด็กอ้วน” ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวไหนก็ต้องรับรู้ได้อย่างเท่าเทียม
  3. โรงเรียนและสถานศึกษาเป็นสถานที่ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าครอบครัว ควรจะมีการจัดการเรื่องสารอาหารในแต่ละมื้อ รวมไปถึงร้านอาหาร Fast food รอบๆโรงเรียน
http://news.163.com/15/0310/07/AKB2ECRN00014Q4P.html?f=jsearch

http://news.163.com/15/0310/07/AKB2ECRN00014Q4P.html?f=jsearch

 

 

Reference

อ้างอิง ภาวะนํ้าหนักเกินในเด็กไทย บทความปุลวิชช์ ทองแตง* พย.ม. (ศาสตร์การดูแลด้วยความเอื้ออาทร) จันทร์จิรา สีสว่าง** พย.ม. (ศาสตร์การดูแลด้วยความเอื้ออาทร)

http://www.thaihealth.or.th/Content/27886-ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก.html

http://haamor.com/th/เด็กอ้วน-เด็กน้ำหนักตัวเกิน/

http://taamkru.com/th/แนวโน้มเด็กไทยอ้วนอันดับหนึ่งของโลก-ตอนที่1/

Write a comment:

*

Your email address will not be published.

2014-2016 © Copyrighted by KJV Group Co., Ltd